Windows 2.0

วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 1987 เป็นการนำ Windows 1.0 มาพัฒนาใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วกว่าเดิม ได้รับความนิยมมากกว่ารุ่นแรก เริ่มมีนักพัฒนาหลายรายพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้บน Windows 2.0

Windows 1.0

วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 1985 เป็น Windows รุ่นแรก ซึ่งยังไม่ได้รับความนิยม โดยแรกเริ่มถูกเรียกว่า Interface Manager แต่สุดท้ายทางไมโครซอฟท์ก็เลือกที่จะใช้ชื่อ Windows แทนเนื่องจากเรียกและจดจำได้ง่ายกว่า

Opera

ปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ที่มีหลาย ๆ อย่างคล้ายกับ Chrome มีฟีเจอร์หลายอย่างที่คล้ายกัน เช่น Address Bar ที่เป็น Search Bar ในตัว แต่จะต่างกันตรงที่ Chrome เน้นลูกเล่นจาก Extension เสริม แต่ Opera จะใส่ฟีเจอร์ใหม่ ๆ เข้ามาให้ในตัวเบราว์เซอร์เลย เช่น Instant Search ที่สามารถพิมพ์ต้นหาในหน้าแท็บปัจจุบันได้ทันที โดยที่หน้าเว็บที่เปิดไว้จะไม่หายไปไหน แต่จะถูกย้ายไปไว้ในเบื้องหลังชั่วคราวแทน หรือฟีเจอร์ Stash ที่สามารถเซฟหน้าเว็บเก็บไว้ดูทีหลังได้
          นอกจากนี้ Opera เวอร์ชั่นล่าสุด 2018 ยังสามารถติดตั้งและใช้งาน Extension ของ Chrome จาก Chrome Web Store ได้ ทำให้มันกลายป็นเบราว์เซอร์ที่แทบไม่มีความแตกต่างจาก Chrome เลยทีเดียว

Mozilla Firefox

อีกหนึ่งโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ยอดนิยมที่มีอายุมากกว่า Chrome เสียอีก โดยในเวอร์ชั่นล่าสุด Quantum ในปี 2018 ได้มีการปรับปรุงทั้งอินเทอร์เฟซใหม่ให้เรียบตามยุคสมัยและใช้งานง่ายกว่าเดิม โดยโปรแกรมสามารถล็อกอินด้วยบัญชี Firefox เพื่อ Sync ข้อมูลกับ Firefox บนอุปกรณ์อื่น ๆ อย่างเช่นมือถือได้ แต่อาจไม่สามารถปรับแต่งได้เยอะเท่า Chrome
นอกจากนี้ Firefox ยังมีข้อดีคือรวดเร็วลื่นไหล และไม่กินแรมมากเท่า Chrome อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งอินเทอร์เฟซและเลือกติดตั้ง Extension เพื่อเพิ่มลูกเล่นได้ แต่โดยรวมแล้วฟีเจอร์ยังไม่มีมากเท่า Chrome แต่สำหรับการใช้งานเข้าเว็บไซต์ทั่วไปนั้นถือว่ายอดเยี่ยมไม่แพ้ Chrome เลยทีเดียว

Google Chrome

โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จากกูเกิลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จากการที่สามารถใช้งานได้ลื่นไหล พร้อมฟีเจอร์และลูกเล่นมากมาย โดยจะใช้งานร่วมกับบัญชีของกูเกิลเป็นหลัก สามารถ Sync ข้อมูลการเข้าเว็บไซต์ไปบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย อีกทั้งยังมี Extension เสริมต่าง ๆ ให้เลือกดาวน์โหลดมาใช้ได้สารพัด แต่ก็มีข้อเสียตรงที่มันกินแรมมากกว่าโปรแกรมอื่น ๆ อยู่บ้าง

Chrome เวอร์ชั่นล่าสุดในปี 2018 นี้ได้มีการปรับปรุงอินเทอร์เฟซครั้งใหญ่ ดีไซน์จะดูเรียบและสบายตากว่าเดิม เน้นดีไซน์ปุ่มและแท็บแบบโค้งมน ไม่เหลี่ยมเหมือนแต่ก่อน และด้วยความที่เป็นเบราว์เซอร์ของกูเกิล ทำให้มันสามารถใช้ช่อง Address Bar เพื่อพิมพ์ค้นหาหรือคำถามที่ต้องการคำตามได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว พิมพ์แล้วก็เห็นคำตอบทันที ไม่ว่าจะเป็นการแปลงหน่วยต่าง ๆ แปลงสกุลเงิน หรือสอบถามข้อมูลต่าง ๆ

Picasa

ซอฟต์แวร์ฟรีจากกูเกิ้ลสำหรับแก้ไขและเรียกดูรูปภาพ มีทูลในการแก้ไขรูปให้ดูดีขึ้นมากมาย

ตั้งค่าโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้งานอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่อง

หลังจากที่เราทำการติดตั้ง Windows 10 เรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าสิ่งที่เราจะทำกันต่อไปก็คือการติดตั้งโปรแกรมสำหรับใช้งานในแต่ละวันของเรา โดยเมื่อเราทำการติดตั้งไปเรียบร้อยแล้วส่วนมากโปรแกรมมักจะนำตัวเองไปอยู่ในรายชื่อของโปรแกรมที่จะเรียกใช้งานอัตโนมัติเมื่อทำการเปิดเครื่อง (Startup Apps) ซึ่งมันจะทำให้เราต้องใช้เวลาในการเปิดเครื่องนานขึ้น เพราะต้องเสียเวลารอโปรแกรมเหล่านี้ในการเรียกใช้งานนั้นเอง

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • แฟลชไดร์เปล่าขนาด 8GB (แนะนำเป็นแบบ USB 3.0)
  • คอม หรือ โน้ตบุ๊ค
  • อินเทอร์เน็ต

วิธีลงและติดตั้ง WINDOWS 10 บนแฟลชไดร์

สำหรับการลงวินโดว์ที่ทีมงานจะแนะนำในครั้งนี้จะเป็นการลงผ่านแฟลชไดร์ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งต้องฟอร์แมตข้อมูลบนแฟลชไดร์ทิ้งด้วย ดังนั้นจึงควร Back up ข้อมูลบนแฟลชไดร์ก่อนนำมาใช้งานด้วยนะครับ โดยขั้นตอนการทำตัวลงวินโดว์มีดังนี้