Windows 10X สามารถรองรับแล็ปท็อปเพิ่มเติมจากอุปกรณ์ 2 หน้าจอพับเก็บได้

2 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมาในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Microsoft บริษัทได้เปิดตัว Surface Neo อุปกรณ์ 2 หน้าจอที่สามารถพับเก็บได้ ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 10X เป็นรุ่นใหม่ของ Windows 10 ที่ออกแบบมารองรับการใช้งานโดยเฉพาะทั้งใน Surface Neo่, Lenovo ThinkFold X1 และอุปกรณ์ของค่ายอื่น ๆ

25 ตุลาคม ผู้ใช้งาน Twitter ชื่อบัญชี WalkingCat ได้ค้นพบและทวีตเผยแพร่เอกสารการออกแบบภายใน ซึ่งเป็นเบื้องหลังของระบบปฏิบัติการ Windows 10X เป็นหลักฐานยืนยันว่า Windows 10X กำลังได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและสามารถรองรับกับแล็ปท็อปนอกเหนือจากอุปกรณ์ 2 หน้าจอพับเก็บได้

ภาพแรกกล่าวถึงหน้าจอ Launcher ช่วยให้ผู้ใช้เริ่มต้นและกลับไปทำงานที่ทำไว้ล่าสุดได้อย่างรวดเร็ว โดยมาพร้อมกับช่องการค้นหาเพื่อใช้ค้นหาเว็บ แอปที่พร้อมใช้งาน และไฟล์ข้อมูลที่มีภายในอุปกรณ์ ส่วนตารางไอคอนตรงกลางจอภาพจะแสดงแอปที่ได้ติดตั้งไว้และเว็บไซต์ ด้านล่างถัดลงมาจะแสดงรายการของแอป ไฟล์ และเว็บไซต์ที่เปิดใช้บ่อยและใช้งานครั้งล่าสุด ด้านล่างสุดคือ Start Menu จะประกอบด้วยแอปภายในอุปกรณ์และเว็บแอปที่มีการอัปเดตอัตโนมัติ

Windows 10X Launcher

เมื่อผู้ใช้เปิดอุปกรณ์เข้าสู่ Windows 10X จะมีหน้าจอพิสูจน์ตัวตนที่ได้ปรับปรุงประสบการณ์ใหม่ด้วยระบบการจดจำใบหน้าที่เรียกว่า Windows Hello หลังจากสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนหรือจะกดรหัส PIN เมื่อผ่านแล้วก็จะเข้าสู่หน้าจอเดสก์ท็อป ซึ่งแตกต่างจาก Windows 10 แบบเดิมที่ต้องเลื่อนหน้าจอล็อกการใช้งานก่อนเข้าสู่หน้าจอการตรวจสอบสิทธิ์

Windows Hello

ระบบปฏิบัติการที่มีการไล่สีพื้นหลังได้อย่างกลมกลืน และระบบการโต้ตอบเพื่อให้ผู้ใช้งานมุ่งเน้นอยู่กับงานที่ทำอยู่ สรุปง่าย ๆ ว่าเน้นพื้นหลังว่างเปล่าและไอคอนด้านล่างนิดหน่อย ไม่ต้องมีไอคอนหรือเมนูต่าง ๆ มาจัดวางให้ดูเกะกะรบกวนการทำงาน

Blend Background

การเข้าใช่งาน การแจ้งเตือน การค้นหา และอื่น ๆ ที่มีความเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ เอกสารยังกล่าวถึงการกำหนดค่าที่รวดเร็วและรองรับการปรับแต่งที่เป็นดีฟอลต์ เช่น WiFi Cell-Data ภาษา บลูทูธ โหมดการโดยสารบินครื่องบิน ล็อกการหมุน ตำแหน่งที่ตั้ง การประหยัดแบตเตอรี ฮอตสปอต และอื่น ๆ

การเข้าถึงง่ายและมีประสิทธิภาพ

ไมโครซอฟท์ปรับรอบการพัฒนา Windows 10 ภายใน

นับตั้งแต่ Windows 10 เป็นต้นมา ไมโครซอฟท์มีนโยบายออกรุ่นอัพเดตใหญ่ (feature releases) ปีละ 2 ครั้ง โดยกระบวนการพัฒนาจะเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคมและกันยายนของทุกปี ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นที่เลขเวอร์ชัน (เช่น v1903 และ v1909)

เมื่อพัฒนาเสร็จ OS แล้ว ไมโครซอฟท์จะทดสอบต่ออีกสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยปล่อยอัพเดตมายังผู้ใช้ในวงกว้าง เช่น กรณีของ v1903 ที่ปล่อยอัพเดตในเดือนพฤษภาคม (May 2019 Update) หรือมีระยะห่างกันประมาณ 2 เดือน

ล่าสุดเว็บไซต์ ZDNet อ้างแหล่งข่าววงในไมโครซอฟท์ว่า รอบการพัฒนาของ Windows 10 กำลังจะเปลี่ยนไป โดยย้ายมาเป็นเดือนมิถุนายนและธันวาคมแทน

เหตุผลของการย้ายไม่ใช่เรื่องเทคนิค แต่เป็นเรื่องการเมืองภายในไมโครซอฟท์เอง หลังไมโครซอฟท์ปรับโครงสร้างองค์กรในปี 2018 แยกส่วนฝ่าย Windows and Devices Group โดยส่วนของ Devices ไปอยู่กับฝ่าย Experiences & Devices และส่วนของแกนระบบปฏิบัติการไปอยู่กับฝ่าย Azure

ฝ่าย Azure พัฒนาระบบปฏิบัติการใช้เอง โดยเป็น Windows 10 Server เวอร์ชันพิเศษสำหรับให้บริการคลาวด์ เมื่อทีมแกนหลักของ Windows 10 ย้ายมาอยู่ด้วย จึงต้องการซิงก์เวอร์ชันของตัวแกนระบบปฏิบัติการให้เหมือนกัน แต่ทีม Azure ใช้รอบการพัฒนาที่เดือนมิถุนายน-ธันวาคม ทำให้ทีม Windows ต้องปรับเวลาตาม และจะมีผลใน Windows 20H1 ที่จะปิดรอบการพัฒนาตอนสิ้นปี 2019 นี้

การปรับรอบเวลาครั้งนี้เป็นแค่รอบเวลาของการพัฒนาภายในเท่านั้น ไมโครซอฟท์จะยังปล่อยอัพเดตให้ผู้ใช้ราวเดือนเมษายน-ตุลาคมเหมือนเดิม

Adobe เปิดให้ Microsoft Office ดึงข้อมูลจาก Creative Cloud Libraries มาใช้งานได้โดยตรง

Adobe ประกาศนำเครื่องมือ Creative Cloud Libraries รวมเข้ากับ Microsoft Office สำหรับการดึงสิ่งจำเป็นต่าง ๆ มาใช้งานได้ในซอฟต์แวร์ด้านสำนักงาน

Creative Cloud Libraries จะเป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บโลโก้, สี และอื่น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำเป็นในการใช้งานกับแอป Creative Cloud และไลบรารีนี้จะซิงค์ข้ามเครื่องอัตโนมัติรวมถึงแชร์กันใช้งานได้ ฟีเจอร์ใหม่นี้จะเปิดให้ Microsoft Office ดึงสิ่งที่เก็บไว้ในไลบรารีไปใช้งานได้โดยตรง และสำหรับการทำงานในองค์กรที่แชร์โลโก้หรือ asset อื่น ๆ กันภายในอยู่แล้ว การเปิดให้ดึงมาใช้งานโดยตรงก็ช่วยทำให้งานนำเสนอต่าง ๆ รักษาแนวทางภาพลักษณ์ของสื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัทให้เป็นไปในทางเดียวกันได้ง่ายขึ้น

ตอนนี้ Creative Cloud Libraries เริ่มเปิดให้ใช้งานกับ Word และ PowerPoint ก่อน ดูวิธีใช้งานได้ท้ายข่าว

 

 

หลุดข้อมูล Windows 10X ระบบปฏิบัติการใหม่ไมโครซอฟท์

ของใหม่ใน Surface Neo แท็บเล็ตจอคู่ของไมโครซอฟท์ คือ ระบบปฏิบัติการ Windows 10X เวอร์ชันพิเศษ ที่ปรับแต่งมาเพื่อแท็บเล็ตลักษณะนี้โดยเฉพาะ

แต่นอกจากภาพ/วิดีโอที่เห็นในงานแถลงข่าวแล้ว ไมโครซอฟท์ยังไม่ยอมให้ข้อมูลใดๆ ของ Windows 10X เลย บอกเพียงว่าให้รอติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเท่านั้น

เมื่อไม่กี่วันก่อน ผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ WalkingCat ซึ่งมีผลงานปล่อยข่าวสายไมโครซอฟท์บ่อยครั้ง ค้นพบไฟล์เอกสารของ Windows 10X บนเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ ที่คาดว่าเอาไว้ให้พาร์ทเนอร์อ่าน ทำให้เรารู้ข้อมูลเพิ่มเติมของ Windows 10X มากขึ้นอีกนิด

No Description

ประเด็นสำคัญของ Windows 10X มีดังนี้

  • Start Menu ถูกเรียกว่า Launcher แทน
  • Launcher มีช่อง Recommend ที่คอยแนะนำของ 3 อย่างในที่เดียวกัน คือ แอพ, ไฟล์, เว็บไซต์
  • ยังมี Taskbar อยู่ และเลือกคอนฟิกได้ว่าจะเรียงไอคอนตรงกลาง หรือชิดซ้าย
  • Taskbar ตั้งค่าให้ย่อขนาดลงได้
  • สร้างโฟลเดอร์โดยการลากไอคอนมาชนกัน (เหมือนกับบน Android)
  • ปลดล็อคแท็บเล็ตด้วยใบหน้า (Windows Hello) โดยไม่ต้องเลื่อนจอก่อน 1 ครั้งเหมือน Windows 10 หยิบเครื่องมาแล้วปลดล็อคได้เลย
  • มีตัวจัดการไฟล์ตัวใหม่ที่เรียกว่า Modern File Explorer ซึ่งคาดว่ามันคือ File Explorer เวอร์ชัน UWP ที่รอกันมานาน

ในเอกสารยังระบุรายชื่อแอพพื้นฐานของระบบ ได้แก่ Edge, Mail, Calendar, Word, Excel, PowerPoint, OneNote, Teams, Whiteboard, To Do, Photos, Store, File Explorer, Spotify, Netflix, Camera, Solitaire, Calculator, Alarms & Clock, Movies & TV, Office, Sticky Notes, Paint, Learning Hub, Settings, Weather, Snip & Sketch, Voice Recorder, Groove Music, People, Notepad, Feedback Hub, Media Plan, Messaging

ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สามารถเลือกพรีโหลดแอพของตัวเอง (OEM) ได้สูงสุด 4 แอพ

No Description

Microsoft ไตรมาสล่าสุด ยังคงเติบโตทุกกลุ่มธุรกิจ

ไมโครซอฟท์รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ตามปีการเงินบริษัท 2020 (กรกฎาคม-กันยายน) รายได้รวมเพิ่มขึ้น 14% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 33,055 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 10,678 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 21%

รายได้แยกตาม 3 กลุ่มธุรกิจของไมโครซอฟท์มีการเติบโตในทุกหมวด โดยกลุ่ม Intelligent Cloud ยังคงเติบโตสูงถึง 27% เป็น 10,845 ล้านดอลลาร์ เฉพาะรายได้จาก Azure โตถึง 59%

ส่วนกลุ่ม Productivity and Business Processes รายได้เพิ่มขึ้น 13% เป็น 11,077 ล้านดอลลาร์ และกลุ่ม More Personal Computing รายได้เพิ่มขึ้น 4% เป็น 11,133 ล้านดอลลาร์

ยังมีข้อมูลอื่นที่น่าสนใจจากช่วงแถลงผลประกอบการดังนี้

  • รายได้จาก Minecraft ทำสถิติใหม่สูงสุดในไตรมาสที่ผ่านมา
  • รายได้จาก Windows OEM Pro เพิ่มขึ้นถึง 19% เนื่องจากองค์กรเริ่มอัพเกรดพีซีกันเพราะ Windows 7 จะหยุดสนับสนุนต้นปีหน้า
  • จำนวนผู้ใช้ Office 365 ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 200 ล้านบัญชี

alt="Microsoft"

Microsoft ยอมรับ Android คือระบบปฏิบัติการที่ดีที่สุด

ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ที่กรุงลอนดอน Panos Panay ผู้บริหารฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ได้เปิดตัว Surface Duo หรือสมาร์ตโฟนแบบพับหน้าจอได้ ใช้ระบบปฏิบัติการ Android สำหรับ Surface Duo ด้วยเหตุผลว่า มันดูเรียบง่าย และเป็นระบบปฏิบัติการที่ดีที่สุดสำหรับอุปกรณ์ชิ้นนี้แล้ว

ย้อนกลับไปสมัยก่อนที่ Microsoft ยังพยายามผลักดันระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ตโฟนของตัวเอง Android ถือว่าเป็นคู่แข่งที่สำคัญมาก แต่โพรเจ็คดังกล่าว ถึงแม้ว่า Windows Mobile จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ดีก็จริงแต่เนื่องจากไม่มีแอปรองรับมาก ผู้ใช้งานจึงเปลี่ยนไปใช้ Android กันมากกว่า

เมื่อไม่มี Windows 10 Mobile ไม่ได้ไปต่อแล้ว หนทางที่เหลือของ Microsoft คือการเลือก Android มาใช้กับสมาร์ตโฟนอย่าง Surface Duo

นอกจากนี้ Panay ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ความมุ่งมั่นของ Microsoft คือการสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถให้บริการผู้ใช้งานได้ตลอดเวลา อย่าง Surface Pro X หรือ Surface Laptop 3 ที่ออกแบบตัวเครื่องให้แกะซ่อมได้ง่ายขึ้น สามารถถอด SSD ด้วยตัวเองได้ เป็นต้น

Image result for Microsoft ยอมรับ Android คือระบบปฏิบัติการที่ดีที่สุด

Microsoft พัฒนา Secured-core PC สำหรับป้องกันคอมพิวเตอร์จากการถูกแฮกเกอร์

เกมแมวไล่จับหนูระหว่างแฮกเกอร์กับผู้พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์ ยังคงเป็นเกมที่เล่นกันไม่จบ และดูเหมือนว่าจะเป็นเกมที่ไม่มีวันจบลงเสียด้วย ไม่ว่าจะออกเฟิร์มแวร์มากี่เวอร์ชัน แฮกเกอร์ก็ยังหาทางเจาะระบบเพื่อโจมตีได้อยู่เสมอ

เหตุผลที่ช่องโหว่ไม่สามารถปิดได้อย่างหมดจรด มีอยู่หลายด้าน เรื่องแรกเป็นเรื่องของเฟิร์มแวร์ที่คอยเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ให้ทำงานร่วมกันได้ อีกเรื่องคือ ส่วนใหญ่แล้วเฟิร์มแวร์จะถูกสร้างโดยผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ตั้งแต่ในขั้นตอนการผลิต ไม่ใช่ Microsoft หรือ Apple ที่เป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ นั่นหมายความว่ามันมีเฟิร์มแวร์ถูกสร้างขึ้นอยู่หลายเวอร์ชันตามแต่ผู้ผลิตของแต่ละรายจะพัฒนาขึ้นมา แน่นอนว่าเมื่อมีเฟิร์มแวร์จำนวนมาก โอกาสพบช่องโหว่ก็มากขึ้นตามไปด้วย

Image result for Secured-core PC

ล่าสุดทาง Microsoft ได้คิดหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้แล้ว ด้วยการเข้าไปเป็นพันธมิตรร่วมกับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาเฟิร์มแวร์ร่วมกันในชื่อ “Secured-core PC” โดยมันจะเข้าไปจัดการความสัมพันธ์การทำงานของเฟิร์มแวร์ และขั้นตอนที่ฮาร์ดแวร์เริ่มทำงาน

ภายใต้การทำงานของ Secured-core PC เฟิร์มแวร์จะยังคงทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์เหมือนเดิม แต่จะถูกจำกัดอำนาจที่เฟิร์มแวร์จะปฏิสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์ให้ลดน้อยลง โดยในขั้นตอนการประมวลผลแบบใหม่นี้จะถูกเรียกว่า Microsoft bootloader ซึ่งเป็นตัวกลางใหม่ที่จะมาสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างเฟิร์มแวร์ และฮาร์ดแวร์ให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น โดยมันจะทำการตรวจสอบข้อมูลใหม่ทุกครั้งที่มีการเริ่มระบบคอมพิวเตอร์ โดยความได้เปรียบใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาคือมันสามารถป้องกันการโจมตีได้ จากเดิมที่ทำได้แค่ตรวจพบความผิดปกติ

นับตั้งแต่ Windows 8 เป็นต้นมา ระบบปฏิบัติการ Windows ได้เพิ่มคุณสมบัติที่เรียกว่า Secure boot ขึ้นมา สำหรับใช้ตรวจสอบ Bootloader ว่าปลอดภัยหรือไม่ แต่ปัญหาของมันที่ทำให้ Microsoft ต้องพัฒนาระบบ Secured-core PC ขึ้นมาใช้แทนนี้ก็เพราะว่า Secure boot ไม่สามารถป้องกันระบบได้หากว่าเฟิร์มแวร์ถูกโจมตีสำเร็จแล้ว

ในการใช้งานระบบ Secured-core PC ทาง Microsoft จะทำงานร่วมกับผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่ทั้ง Intel, AMD และ Qualcomm ในการสร้างรหัสรักษาความปลอดภัย (Secure encryption keys) เอาไว้ในตัวชิปเซตเลยตั้งแต่ในขั้นตอนการผลิต ซึ่งนั่นหมายความว่า Secured-core PC เป็นระบบรักษาความปลอดภัยระดับฮาร์ดแวร์ ดังนั้นหากใครต้องการใช้งาน ต้องซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่เท่านั้น เนื่องจากไม่สามารถอัปเดตผ่านซอฟต์แวร์ได้

คาดว่าอุปกรณ์รุ่นแรกที่จะมาพร้อมกับ ระบบ Secured-core PC คือ Surface Pro X และคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จาก Dell, lenovo และ Panasonic

SAP จับมือ Microsoft เสนอบริการย้ายระบบคลาวด์

SAP จับมือ Microsoft เสนอบริการย้ายระบบคลาวด์ การจับมือเป็นพันธมิตรคลาวด์รายใหม่ในวันนี้ ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่าง SAP และ Microsoft ร่วมกับเครือข่ายผู้บูรณาการระบบทั่วโลก เพื่อรวบรวมสถาปัตยกรรมอ้างอิงที่เป็นหนึ่งเดียวให้กับลูกค้า ตลอดจนสร้างโรดแมปและเส้นทางตลาดที่ชัดเจนสู่ระบบคลาวด์ ในฐานะส่วนหนึ่งของเส้นทางลูกค้าที่ง่ายขึ้น Microsoft จะกลับมาจำหน่ายส่วนประกอบ SAP Cloud Platform ร่วมกับ Azure โดยบริการพิเศษนี้มีเป้าหมายเพื่อให้การถ่ายโอนลูกค้า SAP ERP และ SAP S/4HANA แบบออนพรีมิสไปสู่คลาวด์สาธารณะทำได้ง่ายขึ้น

SAP เป็นผู้นำร่วมกับ Microsoft Azure ในการย้ายลูกค้า SAP ERP และ SAP S/4HANA แบบออนพรีมิสไปยังระบบคลาวด์ผ่านทางวิธีปฏิบัติ สถาปัตยกรรมอ้างอิง และบริการนำส่งด้วยระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะที่ดีที่สุด สิ่งนี้รวมถึงการนำไปใช้และการเคลื่อนย้ายลูกค้า SAP HANA(R) Enterprise Cloud ที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน hyperscaler โดยตรง อย่างไรก็ตาม SAP ยังยึดมั่นในนโยบายอันยาวนานของตนอย่างต่อเนื่องในการสนับสนุนตัวเลือกสำหรับลูกค้าที่ต้องการทางเลือกบนเงื่อนไขทางธุรกิจ

  • การย้ายจาก SAP ERP แบบออนพรีมิสไปยัง SAP S/4HANA สำหรับลูกค้าอย่างง่ายดายด้วยโซลูชั่นผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ การรวมกลุ่มตลาดในอุตสาหกรรมจะสร้างโรดแมปสู่ระบบคลาวด์สำหรับลูกค้าในอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญ ด้วยสถาปัตยกรรมอ้างอิงที่เป็นเลิศและเส้นทางสู่การนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • โมเดลสนับสนุนร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาให้ง่ายขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า โมเดล การสนับสนุนที่เชื่อมโยงกันระหว่าง Azure และ SAP Cloud Platform จะช่วยให้การถ่ายโอนง่ายขึ้นและปรับปรุงการสื่อสาร
  • เส้นทางตลาดที่พัฒนาร่วมกันจะช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้า ออกแบบมาให้ประสานงานกับ SAP Microsoft และพาร์ทเนอร์ผู้ผนวกรวมระบบจะสร้างโรดแมปสู่องค์กรดิจิทัลด้วยโซลูชั่นและสถาปัตยกรรมอ้างอิงที่แนะนำสำหรับลูกค้า สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดกลวิธีที่เข้ากันได้ในอุตสาหกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติทั่ว Microsoft, SAP และผู้บูรณาการระบบ

ในฐานะ Experience Company ที่ขับเคลื่อนโดย Intelligent Enterprise นั้น SAP เป็นผู้นำตลาดในด้านซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นสำหรับองค์กร ที่ช่วยให้บริษัททุกขนาดในทุกภาคอุตสาหกรรมดำเนินงานได้อย่างดีที่สุด โดย 77% ของรายได้ธุรกิจทั่วโลกล้วนเคยสัมผัสกับระบบ SAP(R) มาแล้ว ระบบการเรียนรู้ของเครื่องจักร, อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และเทคโนโลยีวิเคราะห์ที่ล้ำสมัยของเราช่วยเปลี่ยนธุรกิจของลูกค้าให้เป็นองค์กรอัจฉริยะ SAP ช่วยมอบข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจให้กับผู้คนและองค์กร และสร้างความร่วมมือเพื่อช่วยให้พวกเขานำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ เราทำให้เทคโนโลยีง่ายสำหรับบริษัท ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเราด้วยวิธีที่พวกเขาต้องการโดยไม่สะดุด ชุดแอปพลิเคชั่นและบริการแบบครบวงจรของเราช่วยให้ลูกค้าภาคธุรกิจและภาครัฐกว่า 437,000 รายดำเนินงานโดยสร้างผลกำไร ปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง และสร้างสิ่งที่แตกต่าง ด้วยเครือข่ายลูกค้า พาร์ทเนอร์ ลูกจ้าง และผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ทั่วโลก SAP ช่วยให้โลกหมุนดีขึ้นและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sap.com

SAP, SAP HANA และผลิตภัณฑ์ SAP อื่นๆ รวมถึงการบริการที่กล่าวไว้ข้างต้น ตลอดจนโลโก้ของบริษัทล้วนเป็นเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ SAP SE ในเยอรมนี และประเทศอื่นๆ โปรดอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและประกาศได้ที่ https://www.sap.com/copyright

Microsoft (Nasdaq “MSFT” @microsoft) เป็นผู้ขับเคลื่อนการปฏิรูปด้วยนวัตกรรมดิจิทัล ในโลกแห่งอัจฉริยะภาพของเทคโนโลยีคลาวด์ที่ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงถึงกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรทั่วทุกมุมโลกได้บรรลุผลสำเร็จที่ดียิ่งกว่า

Task Manager ของ Windows 10 แสดงอุณหภูมิ GPU ได้

ของใหม่อีกอย่างใน Windows 10 Insider Preview Build 18963 (20H1) นอกเหนือจาก Settings รองรับการปรับความเร็วเคอร์เซอร์เมาส์ และ อัพเดต Notepad ผ่าน Store คือ Task Manager แสดงอุณหภูมิของ GPU ได้แล้ว

ก่อนหน้านี้ Task Manager มีแท็บ Performance ที่สามารถดูอัตราการทำงานของฮาร์ดแวร์ชิ้นต่างๆ ในเครื่องได้ กรณีของ GPU สามารถดูอัตราการทำงาน (utilization) และปริมาณหน่วยความจำที่ใช้อยู่

ไมโครซอฟท์บอกว่าฟีเจอร์อุณหภูมิ GPU เป็นสิ่งที่ถูกเรียกร้องเข้ามานาน โดยตอนนี้ยังรองรับเฉพาะ GPU แบบการ์ดจอแยก (dedicated) และต้องใช้กับไดรเวอร์ GPU ที่เป็น WDDM เวอร์ชัน 2.4 ขึ้นไปด้วย

ฟีเจอร์นี้จะได้ใช้งานกันจริงๆ ในช่วงเดือนเมษายน/พฤษภาคมปี 2020 เมื่อ Windows 10 20H1 ออกตัวจริง

No Description

ระบบล็อกอินสองชั้น MFA ของไมโครซอฟท์ล่ม

ไมโครซอฟท์แจ้งข่าวระบบยืนยันตัวตนหลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication – MFA) ล่ม ส่งผลให้ผู้ใช้ Microsoft 365 และ Microsoft Azure ในภูมิภาคอเมริกาเหนือไม่สามารถล็อกอินได้

ล่าสุดระบบ MFA ของ Azure กลับมาทำงานได้ปกติแล้ว เหลือฝั่งของ Microsoft 365 ที่ยังล่มอยู่ แต่คนที่ไม่ได้ใช้ระบบล็อกอิน 2 ชั้น (ใช้รหัสผ่านปกติ) ยังสามารถเข้าใช้งาน Microsoft 365 / Office 365 ได้ตามปกติ

ผู้ใช้งานระบบของไมโครซอฟท์ในบ้านเราคงไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้โดยตรง แต่กรณีนี้ถือว่าน่าสนใจ เพราะบริษัทไอทีมักแนะนำให้ผู้ใช้เปิด MFA เพื่อความปลอดภัยที่สูงขึ้น แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์เซิร์ฟเวอร์ MFA ล่มในลักษณะนี้ กลายเป็นข้อเสียตกอยู่ที่ผู้ที่เปิดใช้ MFA แทน

No Description