วิธีตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษาใน Windows 10 เพื่อสลับใช้ ไทย – อังกฤษ ด้วยปุ่มตัวหนอน

วิธีตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษาใน Windows 10 เพื่อสลับใช้ ไทย – อังกฤษ ด้วยปุ่มตัวหนอน

1. ไปที่แถบ taskbar คลิกที่ปุ่ม Start > Settings ตามรูปด้านล่าง

 

2. ใน Windows Settings เลือก Time & Language

3. รายการเมนูด้านซ้ายมือคลิกที่ Language ด้านขวามือให้คลิกที่คำว่า Spelling, typing and keyboard settings

4. เลื่อน scroll ลงมาด้านล่างสุดแล้วคลิกเลือก Advanced keyboard settings

5. คลิกเลือกที่คำว่า Language bar options

 

6. คลิกที่แท็บ Advanced key settings และคลิกที่ปุ่ม Change Key Sequence…

7. คลิกเลือก Grave Accent (`) แล้วก็คลิก OK และคลิก OK อีกครั้ง เพื่อบันทึกและจบการตั้งค่า

ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายไปซะทีเดียวที่จะตั้งค่าปุ่มเปลี่ยนภาษาใน Windows 10 เวอร์ชั่นปัจจุบัน v1903+ คนส่วนใหญ่มักจะใช้และคุ้นเคยกับการเปลี่ยนหรือสลับภาษาไทย – อังกฤษ ด้วยปุ่มตัวหนอน (~) หรือ (`) ตั้งแต่เรียนคอมพิวเตอร์มาตอนเด็กๆ ก็ใช้ปุ่มนี้กันทั้งนั้น แต่ก็มักจะเกิดความยุ่งยากตรงที่ว่าบริษัท Microsoft ไม่ได้ทำให้ปุ่มตัวหนอนเป็นปุ่มหลักสากลที่ใช้เพื่อเปลี่ยนภาษามาตั้งแต่ต้น เป็นได้เพียงตัวเลือกรองเท่านั้น เมื่อเราติดตั้ง Windows ก็จะต้องตั้งค่าใหม่ทุกเครื่อง

แม้ว่า Windows แต่ละรุ่นจะมีวิธีการเปลี่ยนที่คล้ายกัน แต่ก็ไม่ได้มีช่องทางสำหรับเข้าไปเปลี่ยนการตั้งค่าที่เหมือนกัน ซึ่งก็ทำให้ผู้ใช้ถึงกับมึนงงหลงทางกันเลยทีเดียว หากเป็น Windows 7 แน่นอนว่ามันง่ายมากแค่หาในหน้าต่างเครื่องมือ Control Panel คลิก 1-2 ทีก็เจอแล้ว พอมาเจอ Windows 8 ถึง Windows 10 รุ่นแลกๆ ก็ยังมีให้เข้าผ่าน Control Panel ได้อยู่เช่นกัน เพียงแต่จะมีคำให้คลิกมองหายากขึ้นอีกหนึ่งชั้น

ส่วนใน Windows 10 รุ่นปัจจุบันนั้นจะตัดการเข้าถึงโดยตรงจาก Control Panel ผู้ใช้จะไม่สามารถมองหาไอคอนคำว่า Language ได้อีก ซึ่งจะถูกเปลี่ยนให้เข้าผ่าน Windows Settings แทน

ลง Windows ใหม่ต้องติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็น มีอะไรบ้าง ?

หลังจากที่เราติดตั้ง Windows ใหม่เสร็จแล้ว ควรจะทำอะไรต่อไปบ้าง สิ่งแรกที่หลายๆ คนควรทำก่อนก็คือการอัพเดทระบบปฏิบัติการ Windows ให้เป็นรุ่นล่าสุดครับ เพราะการอัพเดทนี้สามารถช่วยปรับปรุงแก้ไขการทำงานที่ผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นในระบบ ทำให้ระบบรองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆ ได้ รวมทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยปิดกั้นช่องโหว่จากการบุกรุกทางออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ในระดับหนึ่ง

จากนั้นจะเป็นการตั้งค่าส่วนต่างๆ เช่น การตั้งค่าปุ่มสลับภาษา ตั้งค่าเวลา และตั้งค่าไอคอนหลักให้แสดงบนหน้าเดสก์ท็อป เป็นต้น ซึ่งส่วนนี้จะทำก่อนหรือหลังก็ได้ครับ และท้ายสุดจะเป็นการติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน “ต้องติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็นมีอะไรบ้าง” โดยจะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ทั้งจำเป็นต้องมีหรือมีติดไว้ก็เผื่อใช้งานก็ได้ดังนี้ครับ

โปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้เมื่อ ลง Windows ใหม่ (แนะนำ)
1. โปรแกรมอัพเดตไดรเวอร์ เป็นโปรแกรมแรกที่ควรติดตั้งหลังจากที่เราอัพเดตระบบปฏิบัติการเป็นรุ่นล่าสุดไปแล้ว เพราะไดรเวอร์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การทำงานของอุปกรณ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดการทำงานที่ผิดพลาดซึ่งอาจเกิดจากรุ่นของไดรเวอร์ที่ล้าสมัย

*Driver Booster คือหนึ่งในโปรแกรมฟรีที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยใช้มา สามารถสแกนหาไดรเวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดได้อย่างทั่วถึง และให้เราอัพเดตไดรเวอร์ทั้งหมดเพียงคลิกเดียว นอกจากนี้โปรแกรม Driver Booster ยังมีรุ่น Pro ที่สนับสนุนผู้ใช้งานด้วยคุณสมบัติพิเศษอีกมากมาย แต่สำหรับการใช้ไม่บ่อยครั้งแค่รุ่นฟรีก็พอแล้ว
*Graphics Driver ไดรเวอร์การ์ดจอของแต่ละค่าย สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการ์ดจอรวม การ์ดจอแยกต่างหาก ทั้ง Intel, NVIDIA หรือ AMD ควรหามาติดตั้งให้ตรงรุ่นด้วยครับ
2.โปรแกรมบีบอัดไฟล์และแตกไฟล์ เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีความจำเป็นต้องใช้ เพราะในบางกรณีที่เราดาวน์โหลดไฟล์ที่มีการบีบอัดด้วยนามสกุล .zip หรือ .rar โปรแกรมที่ใช้อย่างเช่น WinZip, WinRAR, 7-Zip ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดที่ช่วยในการจัดการด้านนี้

*WinZip (ฟรีทดลองใช้) โปรแกรมมาตรฐานในด้านการบีบอัดไฟล์นามสกุล .zip โดยจะใช้งานคุณสมบัติพิเศษได้เพียง 21 วัน หลังจากนั้นเราจะยังคงใช้งานได้ปกติในคุณสมบัติพื้นฐาน
*WinRAR (ฟรีทดลองใช้) โปรแกรมที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานเลือกใช้มากที่สุดในมาตรฐานการบีบอัดไฟล์นามสกุล .rar สามารถใช้งานโปรแกรมคุณสมบัติพิเศษได้ 40 วัน หลังจากนั้นยังสามารถใช้งานได้ตามปกติในคุณสมบัติพื้นฐาน
*7-Zip (ฟรี) โปรแกรมสามารถใช้งานในการบีบอัดไฟล์และแตกไฟล์ นามสกุลมาตรฐานของโปรแกรมคือ .7z และรองรับการแตกไฟล์ .zip, .rar ได้ด้วยเช่นกัน
3.โปรแกรมด้านความปลอดภัย ติดตั้งไว้อุ่นใจกว่า โปรแกรมแอนตี้ไวรัส หรือโปรแกรมป้องกันไวรัส ปัจจุบันมีแบบใช้งานฟรีมากมาย (หรือยอมเสียเงินหน่อยซื้อโปรแกรมดีๆ ที่ใช้รายปีไม่แพงก็คุ้มค่าครับ) หาเลือกมาติดตั้งสักหนึ่งตัวไม่เกินนี้ หากมีเยอะก็ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราช้าลงได้ครับ เพราะโปรแกรมประเภทนี้มักจะทำงานแบบเรียลไทม์ ซึ่งใช้งาน CPU และ RAM อยู่บ้าง แต่ยังสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมแอนตี้มัลแวร์ได้ซึ่งโปรแกรมนี้จะช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ของเราจากมัลแวร์ชนิดที่มากับเว็บไซต์ การคลิกลิงค์อันตราย และมากับไฟล์ที่ดาวน์โหลด การทำงานก็จะคนละหน้าที่กับโปรแกรมแอนตี้ไวรัส

*Avast Free โปรแกรมป้องกันไวรัสฟรีที่ได้รับความนิยมสูง แต่ก็ยังมีคู่แข่งจากค่ายอื่นๆ ที่แม้จะไม่ฟรีแต่ก็มีคนยอมจ่ายเงินเพื่อใช้ เช่น Kaspersky, ESET NOD32 เป็นต้น
*Malwarebytes เป็นโปรแกรมแอนตี้มัลแวร์ที่ใช้งานฟรี ใช้เมื่อต้องใช้ไม่ใช่โปรแกรมที่ป้องกันตลอด 24 ชั่วโมง (ต้องอัพเกรดถึงจะใช้แบบเรียลไทม์ได้) สแกนได้ทั่วถึงและครอบคลุม แต่บางกรณีก็ต้องดาวน์โหลดตัวอื่นมาใช้เป็นครั้งคราวอยู่ดี
4.โปรแกรมเบราว์เซอร์ สำหรับท่องเว็บไซต์ผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยความเคยชินที่คนส่วนใหญ่มักจะมีเบราว์เซอร์ที่ใช้ประจำอยู่แล้ว พอเปลี่ยนไปใช้เบราว์เซอร์อื่นแล้วก็จะไม่ค่อยถูกใจ รู้สึกแปลกๆ ทั้งๆ ที่หน้าการใช้ทุกอย่างแทบจะเหมือนกัน บางคนไม่ว่าจะอะไรก็ใช้หมด แต่ก็ยังมีคำพูดที่ว่า เปิด Microsoft Ege เพียงไว้เพื่อโหลดเบราว์เซอร์อื่นมาติดตั้งเท่านั้น ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็ไม่ควรดูถูกกันเกินไป

*Google Chrome เป็นเบราว์เซอร์ที่เปิดคอมเครื่องไหนก็เจอแทบทุกเครื่อง ทั้งๆ ที่ตอนติดตั้ง Windows ก็ไม่ได้ติดมาด้วยสักหน่อยแน่นอนอยู่แล้วครับหากไม่มีคนใช้มันก็ไม่โผล่มาให้เห็น เบราว์เซอร์ยอดนิยมใช้ร่วมกับการค้นหาของ Google Search ได้สะดวกสบาย ส่วนในด้านการทำงานนั้นถ้าสังเกตเบราว์เซอร์นี้ยิ่งสเปคเครื่องแรงขึ้นมันก็จะใช้ทรัพยากรเครื่องเรามากขึ้นตามไปด้วย
*Mozilla Firefox เป็นเบราว์เซอร์ที่เห็นอยู่ปะปราย จะมีก็เฉพาะคนที่ใช้อีกเช่นกัน แต่ก็เป็นเบราว์เซอร์ที่โด่งดังอีกหนึ่งตัว ในเครื่องอาจจะมีทั้ง Chrome และ Firefox
5.โปรแกรมจัดการเอกสาร เป็นโปรแกรมที่ขาดไม่ได้เพราะไฟล์เอกสารต่างๆ ล้วนแต่ต้องใช้โปรแกรมด้านนี้เปิดดู อ่าน หรือแก้ไขกันทั้งนั้น ดังนั้นผมจึงไม่แนะนำโปรแกรมอื่นนอกจาก

*Microsoft Office 2010 ขึ้นไป (ต้องซื้อ License) ถ้าใช้รุ่นที่ต่ำกว่านี้เวลานำมาเปิดกับรุ่นที่สูงกว่ามักจะเพี้ยน หรือใครที่คิดว่าใช้โปรแกรมฟรีทดแทนได้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกครับ แต่เวลาเอามาเปิดกับ Microsoft Office โดยเฉพาะโปรแกรม Microsoft Word แล้ว มันก็จะแสดงผลออกมาเพี้ยนหน่อย แต่ก็ไม่เป็นทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าต้นฉบับที่พิมพ์มานั้นจัดหน้าแปลกๆ หรือวางตำแหน่งซับซ้อนเกินไปหรือเปล่า
*โปรแกรมอ่านไฟล์ PDF ปัจจุบันนี้ไม่ต้องใช้โปรแกรมช่วยอ่านเลยก็ได้ เพราะไฟล์ PDF สามารถเปิดดูผ่านเบราว์เซอร์ได้เลย และอีกอย่างใครที่ต้องการสร้างไฟล์ PDF ก็แทบจะไม่ต้องใช้โปรแกรมสร้าง PDF อีกเช่นกันเพราะโปรแกรมสมัยใหม่รองรับการบันทึกเป็นไฟล์ PDF ได้หมดแล้ว จึงไม่นับว่าจำเป็นต้องมีก็ได้
6.โปรแกรมแต่งรูป เรียกว่าก้ำกึ่งระหว่างคำว่า “จำเป็นต้องมี” กับ “ควรติดตั้ง” เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้ไม่เป็นไม่มีก็ได้ หรือติดตั้งไว้เผื่อได้ใช้ โปรแกรมประเภทนี้มีให้เลือกใช้มากมายทั้งใช้งานแบบขั้นสูงสำหรับคนที่ชอบแต่งรูปด้วยความสามารถตอนตนเอง หรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีตัวอย่างฟิลเตอร์ โทนสี สไตล์ อาร์ตๆ รูปแบบการจัดวางต่างๆ เพียงไม่กี่คลิกก็สวยดั่งใจปรารถนา

*Photoshop (ไม่ฟรี ทดลองใช้ 30 วัน) อันดับหนึ่งโปรแกรมยอดนิยมที่ใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชั่น สารพัดงานการแต่งจบได้ภายในโปรแกรมเดียว
*Photoscape (ฟรี) ถึงจะฟรีแต่ก็มีประสิทธิภาพ สามารถใช้แต่งรูปออกมาได้อย่างมีระดับ มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่รองรับความต้องการที่หลากหลาย
*XnRetro (ฟรี) โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีฟิลเตอร์หลากหลายสไตล์ เช่น
ย้อนยุค วินเทจ การเล่นแสง และ ใส่กรอบ
7.โปรแกรมด้านความบันเทิง เอาไว้สำหรับเปิดไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง แม้ว่าบางคนจะไม่เคยเปิดใช้เลยก็ตาม ด้วยปัจจุบันที่อินเทอร์เน็ตไวมากหาดูหาฟังแบบออนไลน์ได้สบาย แต่บางครั้งมันก็ต้องมีบ้างที่จำเป็นต้องใช้ดังนั้นติดตั้งไว้ดีกว่าไม่มีแนะนำว่ามีอย่างน้อย 2 โปรแกรมครับ

*GOM Media Player หรือ KMPlayer ก็ได้ โปรแกรมฟรีสำหรับใช้ดูหนัง เล่นไฟล์วีดีโอ
*VLC Media Player หรือ K-Lite Codec ก็ได้ โปรแกรมฟรีสำหรับใช้ดูหนัง เล่นไฟล์วิดีโอ
*AIMP หรือ GOM Audio โปรแกรมฟังเพลงฟรี จัดคิวเพลง (อาจไม่จำเป็น)
8.โปรแกรมทำความสะอาดเครื่อง ถูกนับเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้หรือควรมีติดไว้ในเครื่อง เพราะว่าประโยชน์ของโปรแกรมประเภทนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ของเรามีสุขภาพดี!! ช่วยลบขยะที่เกิดขึ้นทุกวันจากการใช้งานของเรา ขยะที่เกิดจากการบันทึกชั่วคราว ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เท็ก ไฟล์แคชต่างๆ ช่วยให้คอมพิวเตอร์เร็วขึ้นเล็กน้อย และช่วยให้พื้นที่เก็บข้อมูลว่างมากยิ่งขึ้น

*CCleaner โปรแกรมเดียวเอาอยู่ เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ได้รับความนิยมจากผู้ใช้จำนวนมาก ใช้งานง่ายเพียงแค่คลิกปุ่ม Run Cleaner โปรแกรมก็จะทำการสำรวจทรัพยากรส่วนเกินในแต่ละจุดที่เป็นขยะ จากนั้นก็ทำการล้างข้อมูลทิ้งไป รับประกันได้ว่าไม่มีผลกระทบกับการทำงานของระบบปฏิบัติการ หากใครมีโปรแกรมที่เคยใช้อยู่แล้ว หรือดีกว่าก็ไม่ว่ากัน ผมแค่แนะนำ
ส่วนโปรแกรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่ได้ยกมาแนะนำในบทความนี้ อาจจะมีอีกมากมายที่ต่างคนต่างเลือกใช้ตามความเหมาะสม และยังมีโปรแกรมอีกหลายๆ กลุ่มที่ผมไม่ได้พูดถึงเพราะมันไม่จำเป็นต้องมีไว้ก่อน หากอยากได้ตอนไหนก็สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งเมื่อไหร่ก็ได้ใช้เวลาไม่นานครับ

โปรแกรมพื้นฐานที่จำเป็นใน Windows 10 / 8.1 / 7 นิยมดาวน์โหลดมาใช้

หลังจากติดตั้ง Windows เสร็จแล้ว สิ่งที่ต้องทำหลังจากตั้งค่าระบบ Windows ก็คือการติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็นใช้งานใน Windows บทความนี้จึงเอาซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ต้องใช้งานใน Windows 10 และ Windows 8.1 / 7 มาให้เลือกไปใช้งานกันครับ โดยที่จะเอามาแนะนำก็เป็น โปรแกรมพื้นฐาน ที่ปกติเมื่อผมลง Windows 10 ให้เครื่องลูกค้าเสร็จจะต้องติดตั้งไว้ให้อยู่แล้วครับ ส่วนถ้าลูกค้าต้องใช้โปรแกรมอะไรเพิ่มเติมก็ค่อยติดตั้งให้ครับ

แนะนำโปรแกรมพื้นฐานที่จำเป็นใน Windows
โดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Windows แบบ clean install หลังจากที่ติดตั้งเสร็จก็ต้องลงซอฟต์แวร์ต่อ แต่ถ้าเป็นการลงแบบ Ghost แบบที่โคลนมาก็จะมีโปรแกรมให้พร้อมเลยที่ร้านซ่อมคอมฯ ส่วนใหญ่มักจะลงให้ลูกค้า เพราะประหยักเวลา ซึ่งโปรแกรมที่มาพร้อม Windows แบบ Ghost ก็จะมีทั้งที่ใช้งานและไม่ใช้งาน หรือบางโปรแกรมเรายังไม่เคยใช้งานและอาจจะไม่รู้จักด้วยซ้ำ ดังนั้นการติดตั้ง Windows ที่ดีที่สุดก็คือแบบปกติเดิมๆ

และโปรแกรมพื้นฐานที่จะเอามาแนะนำก็เป็นที่ผมติดตั้งให้ลูกค้าเบื้องต้น นอกจากที่ลูกค้าจะแจ้งเพิ่มเติมว่าต้องการใช้โปแรกรมอื่นๆ อะไรบ้าง เดี๋ยวมาดูกันว่ามีโปรแกรมอะไรบ้างที่จำเป็นต้องมีติดตั้งใน Windows 10 และ Windows 8.1 / 7 โดยจะแนะนำตัวโปรแกรมที่เป็นประเภทแบบฟรีแวร์ ซึ่งสามารถหาดาวน์โหลดไปใช้งานได้เลยในเว็บไซต์ ตามลักษณะการใช้งานของแต่ละคน และบางโปรแกรมที่อาจจะต้องจ่ายตังซื้อ License มาใช้งาน Microsoft Office ที่เป็นตัวซอฟแวร์ที่ต้องจ่ายเงินซื้อ License มาใช้งาน

1.โปรแกรมจัดการงานเอกสาร เป็นส่วนแรกที่ต้องติดตั้งก่อนเลย เพราะไฟล์เอกสารส่วนมากก็ต้องเปิดอ่านกัน แม้จะไม่ได้ค่อยสร้างไฟล์เอกสารเท่าไร แต่ถ้าต้องเปิดอ่านไฟล์ประเภทของโปรแกรมนั้นก็ต้องหามาติดตั้ง แม้ว่าจะมีโปรแกรมที่ Windows มีให้เพื่อใช้งานทดแทนกันได้ ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เราจะไม่ค่อยคุ้นกัน หรือ ไม่สะดวกเหมือนโปรแกรมเสริม ซึ่งที่นิยมใช้งานก็จะมี
*Microsoft Office 2010 / 2013 / 2016 (ตัวนี้ต้องซื้อ License มาใช้ครับ)
*อ่านไฟล์ pdf อย่างเดียว
Acrobat Reader
Foxit Reader
*อ่านและแก้ไขไฟล์ pdf
Acrobat Pro
PhantomPDF
Nitro Pro

2.โปรแกรมบีบอัดไฟล์ ตัวนี้ก็สำคัญครับ เพราะเราต้องรับไฟล์จากเพื่อน หรือโหลดไฟล์จากเว็บ ซึ่งส่วนมากแล้วจะบีบอัดเป็นไฟล์ WinRAR, WinZIP, 7zip เป็นตั้น หรือจะใช้รวมไฟล์เอกสารหลายๆ ไฟล์มาไว้เป็นไฟล์เดียวกัน เพื่อส่งอีเมล เป็นต้น
7zip (ฟรีแวร์)
WinRAR (ตัวนี้ไม่ฟรีนะ)
WinZip (ตัวนี้ไม่ฟรี ซึ่งมีหลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นแบบฟรี)

3.โปรแกรมรีโมทซัพพอต สำหรับตัวนี้ถามว่า User จำเป็นต้องใช้ไหม ตอบว่าควรจะมีครับ เพราะแม้ว่าเราไม่ได้ใช้รีโมทไปหาเครื่องคอมฯ คนอื่น แต่เราก็อาจจะต้องให้คนอื่นรีโมทมาตรวจสอบหน้าคอมให้นั้นเอง ดังนั้นควรจะมีติดตั้งไว้
TeamViewer (มีทั้งแบบต้องซื้อ และแบบฟรี)
AnyDesk (ตัวนี้ไม่เคยใช้)
UltraViewer (ตัวนี้ใช้งานได้ฟรี)

5.โปรแกรมแต่งรูปภาพ สำหรับตัวนี้น่าจะรู้จัก Photoshop กันดี แต่โปรแกรมประเภทนี้จะเป็นการใช้งานส่วนบุคคลซะมากกว่าครับ เพราะ User บางคนนั้นอาจจะไม่ได้เป็นต้องใช้งานโปรแกรมประเภทนี้
PhotoScape (ฟรี)
ACDSee Pro (ไม่ฟรี)
IrfanView (ฟรี)
Paint.NET (ฟรี)
6.โปรแกรมจับภาพหน้าจอ สำหรับตัวนี้เราน่าจะรู้จัก Snipping Tools ซึ่งเป็นเครื่องฟรีที่มาพร้อมระบบ Windows โดยที่เราไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม แต่สำหรับหลายคนก็ยังมีเครื่องมือไม่ครอบคลุม จึงต้องหาซอฟแวร์อื่นมาเพื่อ ซึ่งก็มีแนะนำตามนี้ครับ
Techsmith SnagIt (ไม่ฟรี)
Lightshot (ฟรี)
Greenshot (ฟรี)
FastStone Capture (ฟรี)
7.3โปรแกรมแปลงไฟล์ ตัวนี้ก็อาจจะจำเป็นบางครั้งครับ เช่นแปลงไฟล์ mp4 เป็น mp3 เป็นต้น
Format Factory (ฟรี)
8.โปรแกรมเล่นไฟล์หนัง ไฟล์วีดีโอ แน่นอนว่าสำคัญไม่แพ้ตัวอื่น เพราะการทำงานก็ต้องมีผ่อนคลายกันบ้าง ซึ่งการผ่อนคลายหลายๆคนก็มักจะ ฟังเพลง ดูหนัง และถ้านึกถึงเปิดหนังเชื่อว่าหลายคนนึกถึง CyberLink PowerDVD สำหรับผมไม่แนะนำเลยครับ ไฟล์ติดตั้งขนาดใหญ่ไปหนักเครื่อง
VLC Media Player (ฟรี)
GOM Media Player (ฟรี)
KMPlayer (ฟรี)
K-Lite Mega Codec Pack (ฟรี)
9.โปรแกรมเล่นไฟล์เพลง ฟังเพลง ซึ่งโปรแกรมกลุ่มนี้มีอยู่ตัวเหมือนกัน อยู่ที่ว่าผู้ใช้ชอบตัวไหนกว่ากัน เพราะคุณภาพก็ไม่ค่อยต่างกันมาก ซึ่งเสียงดีไม่ดีต้องดูที่ฮาร์ดแวร์พวก หูฟัง ลำโพง ที่เปิดด้วย
iTunes (ฟรี)
AIMP (ฟรี)
Spotify (ฟรี และจ่ายตักซื้อแพคเพิ่ม)
Audacity (ตัดต่อเพลงได้ด้วย) (ฟรี)
foobar2000 (ฟรี)
10.โปรแกรมซิงค์ข้อมูล เป็นการซิงค์ข้อมูลในเครื่องคอมฯ กับข้อมูลไดรฟ์ออนไลน์ หรือ Cloud Storage แบบนี้ก็ถือว่าเป็นการสำรองข้อมูลไปในตัว เพราะเมื่อคอมเราพังข้อมูลใน Cloud ก็ยังสามารถเปิดผ่านสมาร์ทโฟนหรือคอมเครื่องอื่นได้ ชื่อซอฟต์แวร์ของกลุ่มนี้ก็เหมือนๆกันครับ ต่างกันแค่ว่าเราเก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ก็เลือกใช้ของที่นั้น
DropBox
Google Backup and Sync
MEGAsync
11.โปรแกรมดูเว็บไซต์ ตัวนี้ถ้าไม่ลงก็เห็นจะไม่ได้ เพราะลำพัง Internet Explorer และ Microsoft Edge ที่ Windows ให้มายังไม่พอสำหรับการใช้งาน แต่ก็มีหลายคนที่ไม่ได้ติดตั้งตัวอื่นเพิ่มเลย
Google Chrome
Firefox
12.โปรแกรมแชท ตัวนี้ก็มีไม่กีตัวที่มักจะใช้งานกัน
LINE for PC
Skype
13.โปรแกรมแอนตี้ไวรัส สำหรับตัวนี้ก็คงจะขาดไม่ได้ แต่ถามว่าต้องลงใหม่ แนะนำให้ลงเพิ่มไว้สบายใจกว่าครับ แม้จะเป็นตัวฟรีก็ตาม ซึ่งในส่วนโปรแกรมกลุ่มนี้เคยได้โพสแนะนำไว้ใน บทความแนะนำโปรแกรมแอนตี้ไวรัสฟรี 2018 ครับ ซึ่งคลิกเข้าไปดูตามลิงก์ได้เลย
ขอแนะนำไวเพียงเท่านี้ก่อนครับ บทความนี้สร้างไว้นานแล้วแต่ไม่ได้โพสซะที เพราะ โปรแกรมพื้นฐาน มีมากมายหลายตัว ไม่รู้ว่าจะแนะนำตัวไหนดี จึงคิดว่าน่าจะแนะนำตัวที่จำเป็นจริงๆ ซึ่งมีอีกหลายตัวที่นิยมใช้งานกันแต่ไม่ค่อยได้ติดตั้งให้ เพราะส่วนมากจะเป็นเครื่องของบริษัทจึงใช้เพียงโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับ Windows เท่านั้น ซึ่งยังมีโปรแกรมดาวน์โหลดไฟล์, ไรท์แผ่น, จับภาพหน้าจอ และอื่นๆ

Microsoft เปิดให้ผู้ใช้ Windows 7, 8 และ 8.1 ของแท้ อัปเกรดเป็น Windows 10 ได้ฟรี

Microsoft เคยประกาศออกมาแล้วว่า Windows 7 จะสิ้นสุดการสนับสนุนซอฟท์แวร์หลังจากเดือนมกราคมปี 2020 เป็นต้นไป ซึ่งทาง Microsoft เองก็พยายามผลักดันให้คนหันมาใช้  Windows 10 กันมาตลอด และเคยปล่อยให้อัปเกรดฟรีจนถึงปี 2016 อีกด้วย แต่จริงๆ แล้วทุกวันนี้ผู้ใช้งาน Windows 7, 8 และ 8.1 ก็ยังสามารถอัปเกรดเป็น Windows 10 ได้อยู่แบบฟรีๆ ผ่าน Media Creation Tool ง่ายๆ ในไม่กี่ขั้นตอน

Windows 10 เปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2015 ซึ่งในช่วงแรกๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่หลายๆ คนยังไม่ให้การยอมรับกันนัก (อาจจะด้วยความเคยชินกับระบบเดิม หรือยังไม่แน่ใจเรื่องความเสถียร) ทำให้คนยังคงใช้ Windows 7 กันอยู่ในสัดส่วนเกินครึ่ง…แต่ทุกวันนี้บอกได้เลยว่า Windows 10 ได้รับการอัปเดตไปไกลกว่าเดิมมาก จนสามารถใช้งานได้เสถียรมากขึ้น จนสามารถใช้งานได้อย่างสบายใจแล้ว เพราะฉะนั้น ใครที่กำลังใช้ระบบ Windows รุ่นเก่าๆ ตั้งแต่ Windows 7 – 8.1 อยู่ ก็หันมาลองใช้ Windows 10 กันดูดีกว่าครับ (หากเพื่อนๆ ใช้ Windows 7 รุ่น Pro อยู่พอเปลี่ยนเป็น Windows 10 แล้วก็จะยังคงเป็นรุ่น Pro อยู่เหมือนเดิมครับ)

ขั้นตอนการอัปเกรดเป็น WINDOWS 10

  • ก่อนอื่นให้เข้าเว็บสำหรับดาวน์โหลด Windows 10 (คลิกที่นี่) กันก่อนนะครับ
  • กดปุ่ม Download tool now เพื่อดาวน์โหลด MediaCreationTool.exe

  • เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วเปิดโปรแกรม Media Creation Tool และให้กดยอมรับเงื่อนไขไปเรื่อยๆ
  • พอถึงหน้า What do you want to do? ให้กด Upgrade this PC now จากนั้นกดปุ่ม Next

  • ถัดมาตัว Tool จะถามว่าจะให้เรา เก็บไฟล์เดิมไว้ หรือ ล้างเครื่องใหม่หมด อันนี้อยู่ที่เราเลือกเลย
  • สุดท้ายกดปุ่ม Install ด้านล่างขวา และรอทำการติดตั้ง ซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นชั่วโมง และเครื่องจะรีสตาร์ทเองหลายรอบ ก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ (เรื่องปกติ)
  • หลังติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ก็จะต้องทำการ Activation กันก่อน วิธีก็ง่ายๆ คือให้คอมเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเอาไว้ จากนั้นกดปุ่ม Start -> Settings -> Windows Update -> Activation เพื่อเริ่มใช้งาน Digital License อัตโนมัติหรืออาจจะต้องเอา Product Key จากกล่อง Windows 7, 8 หรือ 8.1 มากรอกเอง เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มใช้งาน Windows 10 ของแท้ได้แบบเต็มประสิทธิภาพกันแล้วครับ

อย่างไรก็ตามการอัปเกรดแบบนี้จะใช้ได้เฉพาะคนที่ Windows 7, 8 และ 8.1 ของแท้ เท่านั้น ซึ่งส่วนตัวทีมงานแนะนำให้อัปเกรดเป็น Windows 10 เพราะใช้งานได้ดีกว่า รองรับอะไรใหม่ๆ ได้มากกว่า และมีการอัปเดต Patch ความปลอดภัยอยู่เรื่อยๆ อีกด้วย

หากคอมที่เพื่อนๆ ใช้เป็นรุ่นใหม่กว่าปี 2015 ก็สามารถอัปเกรดเป็น Windows 10 ได้เลย แต่ถ้าหากเก่ากว่านี้ไม่แนะนำให้อัปเกรดนะครับ เพราะอุปกรณ์บางอย่างอาจจะไม่รองรับ หรืออาจจะหาไดรเวอร์เพื่อใช้งานร่วมกันไม่ได้แล้วนั่นเองครับ

ปรับ Start menu ของ Windows 10 ให้เปิดเร็วขึ้น

วันนี้มีเคล็ดลับการปรับแต่งเมนูเริ่ม (Start menu) ของ Windows 10 ให้เปิดหรือทำงานเร็วขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใช้งานบนเครื่องพีซีหรือแท็บเล็ตที่ใช้ซีพียูไม่ค่อยแรงนักอย่างเช่น Intel Atom เป็นต้น

สำหรับเคล็ดลับที่นำมาฝากวันนี้เป็นวิธีง่ายๆ คือการปิดวิชวลเอฟเฟคท์ (Visual Effects) ภาพเคลื่อนไหวบนเมนูเริ่ม ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้คุณทำการเปิดหน้า System Properties

  • กดปุ่ม Windows + Break จากนั้นคลิก Advanced system settings บนหน้า System
  • คลิกขวาบนเมนูเริ่ม หรือกดปุ่ม Windows + X จากนั้นคลิก System แล้วคลิก Advanced System Settings บนหน้า System
  • กดปุ่ม Windows + R ป้อน sysdm.cpl ในช่อง Open เสร็จแล้วคลิก OK จากนั้นคลิกแท็บ Advanced บนหน้า System Properties

2. ถึงตอนนี้คุณจะมาอยู่ที่หน้า System Properties จากนั้นให้คุณคลิก Settings ซึ่งอยู่ภายใต้หัวข้อ Performance

 

3. ให้คุณทำการยกเลิกการติ๊กเลือกหัวข้อ “Animate windows when minimizing and maximizing” เพื่อปิดการทำงาน ( Disable) วิชวลเอฟเฟคท์ภาพเคลื่อนไหว

หลังจากทำตามขั้นตอนด้านบนเสร็จแล้ว เมื่อคุณทำการเปิดเมนูเริ่มมันจะปรากฏขึ้นแบบทันที การปิดวิชวลเอฟเฟคท์นี่ไม่มีผลกับไทล์ที่มีชีวิต (Live Tiles) นั้นหมายความว่ามันจะยังคงแสดงเคลื่อนไหวตามปกติ

Dev จัดหนัก จับ Windows 10 ลงในเครื่องคิดเลขได้แล้ว

การจับ Windows ไปลงในอุปกรณ์ต่าง ๆ นับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่มีคนลองกันอยู่เสมอ ล่าสุดก็เป็นคิวของเครื่องคิดเลขบ้างแล้วครับ โดยมี developer สามารถนำ Windows 10 ไปบูทบนเครื่องคิดเลขได้แล้ว

โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อบัญชีว่า @imbushuo ได้โพสต์ภาพและคลิปที่ตนเองทดลองนำ Windows 10 (น่าจะเป็นรุ่นสำหรับชิปตระกูล ARM) มาทำงานบนเครื่องคิดเลข HP Prime Graphing Calculator ซึ่งในตอนนี้ก็สามารถเข้าหน้าบูทได้แล้ว จากที่ในทีแรกติดปัญหาเนื่องจากความละเอียดหน้าจอของตัวเครื่องต่ำเกินไป (320 x 240) โดยสามารถติดตามต่อได้จากในบัญชีทวิตเตอร์ของเจ้าตัว ที่อยู่ตรงที่มาของข่าวได้เลย

สเปคคร่าว ๆ ของเครื่องคิดเลข HP Prime Graphing

  • ชิปประมวลผลแบบ ARM ความเร็ว 400 MHz
  • หน้าจอสัมผัสความละเอียด 320 x 240 16 บิท
  • แรม 32 MB
  • รอม 256 MB
  • รองรับการเชื่อมต่อผ่าน USB
  • แบตเตอรี่ li-ion
  • น้ำหนัก 228 กรัม
  • ราคาในไทยประมาณ 8,000 กว่าบาท

ไมโครซอฟท์ปรับรอบการพัฒนา Windows 10 ภายใน

นับตั้งแต่ Windows 10 เป็นต้นมา ไมโครซอฟท์มีนโยบายออกรุ่นอัพเดตใหญ่ (feature releases) ปีละ 2 ครั้ง โดยกระบวนการพัฒนาจะเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคมและกันยายนของทุกปี ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นที่เลขเวอร์ชัน (เช่น v1903 และ v1909)

เมื่อพัฒนาเสร็จ OS แล้ว ไมโครซอฟท์จะทดสอบต่ออีกสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยปล่อยอัพเดตมายังผู้ใช้ในวงกว้าง เช่น กรณีของ v1903 ที่ปล่อยอัพเดตในเดือนพฤษภาคม (May 2019 Update) หรือมีระยะห่างกันประมาณ 2 เดือน

ล่าสุดเว็บไซต์ ZDNet อ้างแหล่งข่าววงในไมโครซอฟท์ว่า รอบการพัฒนาของ Windows 10 กำลังจะเปลี่ยนไป โดยย้ายมาเป็นเดือนมิถุนายนและธันวาคมแทน

เหตุผลของการย้ายไม่ใช่เรื่องเทคนิค แต่เป็นเรื่องการเมืองภายในไมโครซอฟท์เอง หลังไมโครซอฟท์ปรับโครงสร้างองค์กรในปี 2018 แยกส่วนฝ่าย Windows and Devices Group โดยส่วนของ Devices ไปอยู่กับฝ่าย Experiences & Devices และส่วนของแกนระบบปฏิบัติการไปอยู่กับฝ่าย Azure

ฝ่าย Azure พัฒนาระบบปฏิบัติการใช้เอง โดยเป็น Windows 10 Server เวอร์ชันพิเศษสำหรับให้บริการคลาวด์ เมื่อทีมแกนหลักของ Windows 10 ย้ายมาอยู่ด้วย จึงต้องการซิงก์เวอร์ชันของตัวแกนระบบปฏิบัติการให้เหมือนกัน แต่ทีม Azure ใช้รอบการพัฒนาที่เดือนมิถุนายน-ธันวาคม ทำให้ทีม Windows ต้องปรับเวลาตาม และจะมีผลใน Windows 20H1 ที่จะปิดรอบการพัฒนาตอนสิ้นปี 2019 นี้

การปรับรอบเวลาครั้งนี้เป็นแค่รอบเวลาของการพัฒนาภายในเท่านั้น ไมโครซอฟท์จะยังปล่อยอัพเดตให้ผู้ใช้ราวเดือนเมษายน-ตุลาคมเหมือนเดิม

Task Manager ของ Windows 10 แสดงอุณหภูมิ GPU ได้

ของใหม่อีกอย่างใน Windows 10 Insider Preview Build 18963 (20H1) นอกเหนือจาก Settings รองรับการปรับความเร็วเคอร์เซอร์เมาส์ และ อัพเดต Notepad ผ่าน Store คือ Task Manager แสดงอุณหภูมิของ GPU ได้แล้ว

ก่อนหน้านี้ Task Manager มีแท็บ Performance ที่สามารถดูอัตราการทำงานของฮาร์ดแวร์ชิ้นต่างๆ ในเครื่องได้ กรณีของ GPU สามารถดูอัตราการทำงาน (utilization) และปริมาณหน่วยความจำที่ใช้อยู่

ไมโครซอฟท์บอกว่าฟีเจอร์อุณหภูมิ GPU เป็นสิ่งที่ถูกเรียกร้องเข้ามานาน โดยตอนนี้ยังรองรับเฉพาะ GPU แบบการ์ดจอแยก (dedicated) และต้องใช้กับไดรเวอร์ GPU ที่เป็น WDDM เวอร์ชัน 2.4 ขึ้นไปด้วย

ฟีเจอร์นี้จะได้ใช้งานกันจริงๆ ในช่วงเดือนเมษายน/พฤษภาคมปี 2020 เมื่อ Windows 10 20H1 ออกตัวจริง

No Description

Start Menu ของ Windows 10 จะแก้ไขปลาย ต.ค. นี้

Microsoft ได้ออก Patch KB4524147 สำหรับ Windows ทุกรุ่นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องใน Internet Explorer แต่หลังจากอัปเดตแล้วลูกค้ากลับพบปัญหาเกี่ยวกับการจัดคิวงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เกิดขึ้น

ต่อมาในวันที่ 4 ตุลาคม Microsoft ได้ทำการอัปเดต Patch KB4524147 แล้วมีผู้ใช้บางคนรายงานว่าพบข้อความแจ้งเตือนว่ามีข้อผิดพลาดร้ายแรง “Critical error” ที่ระบุว่า Start menu ไม่ทำงาน ทำให้ผู้ใช้บางคนแก้ไขปัญหา Start Menu ที่ไม่ทำงานโดยถอนการติดตั้งตัวอัปเดตออกไป

จากนั้นวันที่ 8 ตุลาคม Microsoft ได้ออก Cumulative Updates (ตัวอัปเดตทุกวันอังคารของเดือน) KB4517389 เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดคิวงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ใช้ Windows 10 รุ่น 1903 ได้ติดตั้ง Patch KB4524147 ในวันที่ 23 กันยายน แต่ปรากฏว่าผู้ใช้บางคนยังคงมีปัญหาที่ Start Menu

ล่าสุดวิศวกรของ Microsoft ได้ออกมาโพสต์บนเว็บไซต์ Microsoft Answers โดยแจ้งว่าการแก้ไขจะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งมีข้อความว่า “เรามีความตระหนักถึงปัญหานี้และประเมินความละเอียดที่จะปล่อยออกมาในช่วงปลายเดือนตุลาคม”

สรุปง่าย ๆ ว่าตอนนี้ใครที่ยังไม่ได้อัปเดต Windows 10 ก็ควรรอไปก่อนจนกว่าจะแน่ใจว่าข้อผิดพลาดได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ส่วนคนที่อัปเดตไปแล้วและพบปัญหาดังกล่าวก็ให้ถอนการอัปเดตออกไปก่อนตามที่ผู้ใช้หลายคนออกมาแนะนำ

Image result for Start Menu ของ Windows 10

Windows 10 รับสายเรียกเข้า-โทรออกจากสมาร์ทโฟน Android ได้แล้ว

จากที่มีคนไปขุดเจอฟีเจอร์นี้ในแอพ Your Phone เมื่อเดือนที่แล้ว วันนี้แอพ Your Phone ของ Windows 10 สามารถรับสายโทรเข้า-กดโทรออกจากสมาร์ทโฟน Android มาคุยบนพีซีได้แล้ว

ฟีเจอร์นี้มีชื่อตรงตัวว่า Calls มีฟีเจอร์ด้านการโทรศัพท์อย่างที่ควรจะมี ทั้งรับสายเข้า-โทรออก, ปฏิเสธการรับสายและส่ง SMS ไปยังปลายทาง, ดูประวัติการโทรศัพท์จากมือถือ และย้ายสายที่กำลังคุยอยู่บนมือถือไปยังบนพีซี (หรือกลับกัน)

ฟีเจอร์นี้จำเป็นต้องใช้กับมือถือ Android 7.0 ขึ้นไป และตัว Windows 10 ต้องเป็น 19H1 (v1903 ตัวเสถียรในปัจจุบันที่ออกเมื่อเดือนพฤษภาคม) มีเลข Build เป็น 18362.356 ขึ้นไป โดยไมโครซอฟท์จะทยอยปล่อยอัพเดตนี้ให้กับผู้ใช้ที่เป็นสมาชิก Windows Insider ก่อน

No Description